บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

World Gold Council สรุปทองคำไตรมาส 1/21

World Gold Council สรุปทองคำไตรมาส 1/21

เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


World Gold Council ได้สรุปมุมมองของความต้องการและผลิต โดยใน ไตรมาส 1/21 ความต้องการทองคำแตะระดับ 815.7 ตัน เพิ่มขึ้นสูงขึ้น จากไตรมาส 4/20 ที่ 2 ตัน และการผลิตทองคำลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 101.7 ตัน 

เจาะลึกความต้องการทองคำจะพบว่า ความต้องการทองคำจะมาจาก 4 ส่วน ได้แก่ Jewellery , Technology , Investment ,และCentral banks โดย

1.ความต้องการทองคำจากภาค Jewellery ไตรมาสที่ 1/21 แตะ 477.4 ตัน ลดลงจากไตรมาส 4/20 ที่ 33.5 ตัน และประเทศที่มีความต้องการทองคำใน Jewellery 5 อันดับสูงสุดได้แก่

                    

จากความต้องการ Jewellery ของอันดับสุดสูง 5 อันดับแรก แสดงให้เห็นว่า ความต้องการทองคำของอินเดียลดลง 25% และสหรัฐฯลดลงมากถึง 25% และเหตุที่ทำให้ความต้องการทองคำของอินเดียและสหรัฐฯลดลง โดยมีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดโควิด-19  แต่เรามีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของความต้องการทองคำจากภาค Jewellery  เนื่องจากสหรัฐฯสามารถฉีดยาต้านได้มากกว่า 300 ล้านโดล มีโอกาสคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ เหมือนที่จีนสามารถคุมโควิด-19 ได้ ทำให้การผลิต Jewellery ฟื้นและตัวชี้วัด คือ ความต้องการทองคำภาค Jewellery จีนไตรมาส 1/21 เพิ่มขึ้นมากกว่า 33%

2.ความต้องการทองคำจากภาค Technology ไตรมาส 1/21 แตะ  ลดลง 2.8 ตัน จากไตรมาสก่อน โดยความต้องการทองคำภาค Technology ที่ลดลงเกิดจากมาตรการล็อกดาวน์จากยุโรป และการขาดแคลนชิป

                   

3.ความต้องการทองคำจากภาค Investment ไตรมาส 1/21

                        

จะพบว่านักลงทุนซื้อทองคำในรูปแบบแท่งและเหรียญในไตรมาสที่ 1/21 รับได้ปัจจัยบวกจากจีนที่ซื้อทองคำเพิ่มในเทศกาลตรุษจีน แต่การลงทุน ETF พบการเทขายออกมามากก่อนไตรมาสก่อนมากถึง 177.9 ตัน นับเป็นการเทขาย 2 ไตรมาสติด และแนวโน้มหลังจากไตรมาส 1/21 มีโอกาสเห็นการโควิด-19 แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น มีความเป็นได้ที่นักลงทุนจะสะสมทองคำเพิ่ม

4.ความต้องการทองคำจากภาค  Central banks  โดยประเทศฮังการี ซื้อทองคำเพิ่ม 63 ตัน ตามมาด้วยอินเดียซื้อทองคำเพิ่ม 18.7 ตัน  รองลงมาเป็นคาซัคสถานซื้อเพิ่ม 8 ตัน ส่วนประเทศที่เทขายแก่ได้ตุรกี ขายทองคำ 31.5 ตัน

ทั้งนี้หากเจาะลึกแนวโน้มโควิด-19 กับ Demand ของทองคำ ในปี 2018-2021

นักลงทุนที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการทองคำกับการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศที่มีความต้องการทองคำสูง ซึ่งสามารถตอบได้ผ่านกราฟนี้

จากกราฟนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนที่จะเกิดการระบาดโควิด-19 ความต้องการทองคำมากที่สุดมาจากภาค Jewellery  แต่หลังจากการระบาดของโควิด-19 ความต้องการทองจากภาค Jewellery ลดลงมาก แต่ความต้องการทองคำจะเพิ่มในภาค Investment และเหตุที่ทำให้ภาค Jewellery ลดและเพิ่มภาค Investment เรามองว่า ช่วงที่โควิด-19 ระบาดที่แรก คือ จีน ซึ่งจีนได้ทำการล็อกดาวน์ครั้งใหญ่ที่สุด ส่งผลกระทบต่อความต้องการ Jewellery ลดลง และการผลิต Jewellery ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากจีนสั่งล็อกดาวน์ และที่ภาค Investment เพิ่มขึ้นเนื่องจากนักลงทุนกังวลกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ของสหรัฐฯ กระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ กดให้ US Dollar Index อ่อนค่า

และต่อจากนี้แนวโน้มที่สหรัฐฯอาจเจอโควิด-19 ระบาดได้อีกรอบ  เนื่องจากโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย หรือไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ B.1.617 อาจสร้างความกังวลไปทั่วโลกหลังมีการแพร่ระบาดไปแล้วเกือบ 20 ประเทศ ซึ่ง WHO ระบุว่าไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวอาจมีความสามารถในการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้สหรัฐฯพบโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียแล้ว 123 ราย โดยหลังจากนี้จะได้เห็นการระบาดในสหรัฐฯเพิ่มหรือไม่ ขณะที่นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้บังคับใช้มาตรการจำกัดผู้เดินทางจากอินเดีย รวมถึงผู้ชาวอเมริกันที่มีประวัติเดินทางในอินเดีย ถูกแบนไม่สามารถเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2564 

และกลับมาที่การผลิตทองคำในไตรมาสที่ 1/21 ลดลงจากไตรมาสก่อนแตะที่ 101.7 ตัน

                    

โดยเหมืองทองคำแตะ 851 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อน 49 ตัน และทองคำที่รีไซเคิลแตะ 270.2 ลดลง 55.7 ตัน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การผลิตทองคำในเหมืองและรีไซเคิลหยุดชะงัก

สรุปแนวโน้มความต้องการทองคำมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น ทั้งภาค Jewellery  ที่ได้ปัจจัยจากการฟื้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีน ทำให้กำลังซื้อกลับมา ขณะที่ภาค Investment มีโอกาสเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากแนวโน้มการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในอินเดีย สามารถสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกได้ เพราะประชากรของอินเดียมีมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีจำนวนประชากรที่ 1,325,000,000 คน และการแพร่ระบาดโควิด-19 ต่อวันพุ่งแตะระดับ 300,000 – 400,000 รายต่อวัน ซึ่งมีแนวโน้มแพร่ระบาดมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้นำของอินเดียมีแนวทางที่จะใช้มาตรการล็อกดาวน์เป็นมาตรการสุดท้าย 

สิ่งที่ต้องจับหลังจากนี้

แนวโน้มการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ,การกำหนดนโยบายเงินของสหรัฐฯ , การจัดเก็บภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในสหรัฐฯ ,การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน และแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย หรือไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ B.1.617 โดย 5 ประเด็นที่ CAF กล่าวไปแล้ว นักลงทุนจะได้อ่านต่อในบทความหน้า

 

 

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1713503476
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 99a94f47ebc80f79071652b2e0192b27
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/gold-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => gold-2021
)
		
Array
(
)