บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

ทำไมเงินบาทถึงแข็งค่า ทั้งที่ส่งออกไทยติดลบ ?

ทำไมเงินบาทถึงแข็งค่า ทั้งที่ส่งออกไทยติดลบ ?

เผยแพร่เมื่อ วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562


เมื่อเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัว และธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเหลือ 2.8% จากเดิม 3.8% พร้อมลดดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น 0.25% เหลือ 1.5% น่าจะเป็นปัจจัยทำให้เงินบาทอ่อนค่าด้วยซ้ำ แต่ทำไมเงินบาทถึงแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี แตะระดับ 30.30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งในปี 2562 เงินบาทต่อดอลลาร์แข็งค่ามากกว่า 6% ผู้อ่านทราบกันอยู่แล้วว่าการที่เงินบาทแข็งแสดงว่า มีความต้องการเงินบาทมาก ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า ใครต้องการเงินบาทกันแน่ เราจะหาคำตอบไปพร้อมกันผ่านการอธิบายจากดุลการชำระเงินของไทย

ดุลการชำระเงินคืออะไร?

ธุรกรรมทางการค้าและการเงินระหว่างประเทศผว่าการอธิบายแบบนักเศรษฐศาสตร์เข้าใจยากไป ผมขออธิบายภาษาคนดีกว่า ดุลการชำระเงิน คือ การแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินสกุลอื่นๆ ผ่านทางสินค้า,บริการหรือการลงทุน แบบนี้น่าจะเข้าใจง่ายกว่า ซึ่งดุลการชำระเงินประกอบด้วย

เรากำลังจะอธิบายโครงสร้างดังกล่าวแบบง่าย คือ ดุลการชำระเงิน แบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่

  1. บัญชีเดินสะพัดจะบันทึกเงินเข้าออกแบ่งได้ 4 บัญชี
    1.1 บัญชีดุลการค้า มาในรูปแบบของมูลค่าสินค้าออกและนำเข้า
    1.2 บัญชีดุลบริการ คือ มูลค่าการบริการระหว่างประเทศ เช่น ค่าขนส่ง ,ค่าใช้จ่ายในการเที่ยว ,การสื่อสาร และการประกันภัยการเงิน
    1.3 บัญชีรายได้ คือ ค่าจ้างแรงงาน ,รายได้จากการลงทุน
    1.4 บัญชีเงินบริจาคระหว่างประเทศ
  2. บัญชีทุน
    2.1 ลงทุนโดยตรง นับการลงทุนในต่างประเทศกับการลงทุนจากต่างประเทศ
    2.2 ลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ
    2.3 การกู้ยืมเงินที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ
    3.บัญชีเงินสำรองระหว่างประเทศ

และนี่คือ โครงสร้างของดุลการชำระเงินและเราจะวิเคราะห์ไปพร้อมกันว่า ความต้องการเงินบาทมาจากไหน จะไล่ไปทีละหัวข้อเลย

1.ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปี 2556-2562 เกินดุลเฉลี่ย 23,685.47 ล้านดอลลาร์ต่อปี ดุลเกินจาก 2 อย่าง

1.1 ดุลการค้าเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า เพราะการส่งออกของไทยเกินดุลการค้ามาโดยตลอด ยิ่งการส่งออกทองคำของไทยมีมูลค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 7,807.54 ล้านดอลลาร์ต่อปี ทำให้ผู้ส่งออกของไทยขายสินค้าได้เงินเป็นดอลลาร์และนำมาแลกเป็นเงินบาทมากขึ้น ทำให้ความต้องการค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น

1.2 ดุลบริการเกินดุลมาตลอดเช่นกัน เนื่องจากปริมาณการใช่จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยมีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 42,677.22 ล้านดอลลาร์ต่อปี แต่ปริมาณการจ่ายของนักท่องเที่ยวไทยในต่างประเทศเฉลี่ยเพียง 8,552.61 ล้านดอลลาร์ต่อปี แสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยมีความต้องการเงินบาทมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า

2.ดุลบัญชีเงินทุนในช่วงปี 2556-2562 ขาดดุลเฉลี่ย 13,172.67 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขาดดุลจาก 2 อย่าง

2.1.การลงทุนโดยตรง เฉลี่ย -3,882.83 ล้านดอลลาร์ต่อปี เพราะการลงทุนในต่างประเทศเฉลี่ยที่ -11,988.60 ล้านดอลลาร์ต่อปี และการลงทุนจากต่างประเทศ +8,105.77 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เงินบาทอ่อน เนื่องจากเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า

2.2.การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เม็ดเงินของต่างชาติไหลออกอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ย 6,495.71 ล้านดอลลาร์ต่อปี

3.เงินสำรองระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า ไทยมีรายรับเงินสกุลอื่นๆมากขึ้นทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เท่ากับว่าเงินไหลเข้าไทยมากกว่าเงินไหลออก

4.ดุลการชำระเงินเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์

สังเกตจากกราฟดุลการชำระเงินก่อนเทียบกับค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ ตอนนี้เกินดุลการชำระเงินจะเห็นว่าค่าเงินบาทจะแข็งและขณะที่ขาดดุลการชำระเงินค่าเงินบาทจะอ่อน ทั้งนี้การต้องการเงินบาทเกิดจากการส่งออกและนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้จ่ายในไทยเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ข้อมูลประกอบ
– https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/Pages/StatBalanceofPayments.aspx
– https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=644&language=th
– หนังสือเศรษฐศาสตร์การเงินและธนาคาร ของอาจารย์นวลละออ อานามวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

✒️ บทความโดย ธนะเกียรติ ปฐมะพงษ์
⭐️ นักวิเคราะห์ด้านการลงทุนปัจจัยพื้นฐานสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
▶️ บลป. คลาสสิก ออสสิริส

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1711712012
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 38b8fd990e6d0dc4dcf900eaa41e0a47
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/Whyisthebahtstronger.html
)
		
Array
(
    [content] => Whyisthebahtstronger
)
		
Array
(
)