บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

BPP พื้นฐานเด่น เทคนิคดี จังหวะนี้น่าซื้อหรือยัง?

BPP พื้นฐานเด่น เทคนิคดี จังหวะนี้น่าซื้อหรือยัง?

เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564


ราคาหุ้นของ BPP หรือ บมจ.บ้านปู เพาเวอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 8% ในวันพุธที่ 27 ม.ค. 64 ที่ผ่านมา ในขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานทดแทนหรือโรงไฟฟ้าตัวอื่นเริ่มกลับมาเป็นขาลง แต่ BPP พุ่งขึ้นมามีสัญญาณขาขึ้นชัดเจน เราจึงวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่เข้ามาซัพพอร์ตเทรนด์ขาขึ้นแล้วพบข้อมูลที่น่าสนใจมาก ดังนี้

ประเด็นแรก BPP มีแผนในการขยายกำลังการผลิตให้สูงขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 5,300 MW ในปี 2568 ตามรายงาน Q3/63 ระบุว่า BPP ถือครองกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าในไทยและลาวจำนวน 1,468 MW โดยเป็นโรงไฟฟ้าระบบความร้อนร่วม (ใช้ก๊าซและถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง) บวกกับกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าในจีนจำนวน 935 MW รวมกำลังการผลิตที่ถือครองผ่านชื่อของ BPP 2,403 MW

นอกจากนี้ BPP ถือครองกำลังการผลิตผ่านบริษัทลูกอย่าง Banpu Next จำนวนรวมทั้งสิ้น 450 MW แบ่งออกเป็นโรงไฟฟ้า Solar ในจีน 177 MW, โรงไฟฟ้า Solar ในญี่ปุ่น 63 MW, โรงไฟฟ้า Solar ในไทย 36 MW, โรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม 38 MW และการถือครองกำลังการผลิตผ่าน Sunseap Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานสะอาดจากสิงคโปร์อีกจำนวน 329 MW รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าในอนาคตซึ่งมีกำลังการผลิตอีก 257 MW (BPP ถือหุ้นของบริษัท Banpu Next จำนวน 50% ทำให้กำลังการผลิตของ BPP เท่ากับครึ่งหนึ่งของ Banpu Next ทั้งหมด)

ยิ่งไปกว่านั้น BPP ยังคงเดินตามแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตต่อไป พร้อมกับการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ COD โครงการใหม่ๆ ทำให้แนวโน้มรายได้และกำไรสุทธิของ BPP มีโอกาสเพิ่มขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับแผนการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนที่หลายหน่วยงานให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของสหรัฐฯ ที่มีนโยบายผลักดัน Green Energy ให้มีบทบาทในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น

จากปัจจัยความแข็งแกร่งภายใน ด้านกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีแผนชัดเจน บวกกับปัจจัยบวกภายนอกจากการผลักดันพลังงานสะอาด ทำให้ภาพรวมธุรกิจของ BPP มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะเข้ามากระทบกับ BPP เรามองว่าเป็นเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะ BPP มีการทำธุรกิจในต่างประเทศจำนวนมาก ในเวลาที่เงินบาทแข็งค่าอาจส่งผลเสียต่อการรับรู้รายได้เป็นสกุลเงินบาท ในทำนองเดียวกันก็จะได้ประโยชน์จากการรับรู้หนี้สินที่ต้องจ่ายเป็นสกุลเงินอื่นด้วย ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงเป็นความเสี่ยงที่ BPP ต้องโฟกัสเป็นพิเศษ

ด้านแนวโน้มทางเทคนิค พบว่าราคาหุ้น BPP มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นทั้ง 2 Time Frame ได้แก่ Day และ Week หลังจากทะลุแนวต้าน ย่อยบริเวณ 16.40 บาท และแนวต้านสำคัญ 17 บาท พร้อมปริมาณซื้อขายจำนวนมากที่สุดในรอบ 1 ปี เราจึงคาดว่าราคาหุ้น BPP มีโอกาสไปต่อหากการพักตัวรอบนี้ไม่หลุด 16.50 บาท นำมาซึ่งคำแนะนำเปิดสถานะ Long ใน BPP Futures บริเวณ 16.90 – 17.30 บาท โดยมีจุด Stop Loss 16.20 บาท

หมายเหตุ:  ราคาหุ้น ณ วันที่ 28 ม.ค. 64

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1713422263
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => f6447f80894bd9f3f64504a0b73e1e0c
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-bpp-stock-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-bpp-stock-2021
)
		
Array
(
)