บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

วิเคราะห์สถานการณ์หุ้นที่เกี่ยวกับ EV

วิเคราะห์สถานการณ์หุ้นที่เกี่ยวกับ EV

เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565


อย่างที่นักลงทุนได้ทราบว่าเมื่อวันที่ 15 ก.พ.65 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวาระพิจารณาจากกระทรวงพลังงาน เสนอมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รถ EV หรือ รถ EV ทั้งระบบ โดยเฉพาะการสนับสนุนดีมานต์ผู้ใช้รถอีวีในประเทศ โดยแพคเกจที่บอร์ดอีวีจะมีการเสนอนั้นครอบคลุม ทั้งรถยนต์ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

1.เริ่มปี 2565 – 2566 เป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศอย่างกว้างขวางโดยเร็ว  ทั้ง Completely Built Up (CBU) เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้ามาทั้งคัน และแบบ Completely Knocked Down (CKD) เป็นรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ไม่ว่าอะไหล่ที่นำมาประกอบจะเป็นอะไหล่นำเข้าหรืออะไหล่ที่ผลิตในประเทศ

- ราคาขายปลีกไม่เกิน 2 ล้านบาท ลดอากรสูงสุด 40% ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% โดยเงินอุดหนุน 70,000 บาท สำหรับ (10-30 กิโลวัตต์) และเงินอุดหนุน 150,000 บาท สำหรับ (มากกว่า 30 กิโลวัตต์)

- ราคา 2-7 ล้านบาท ลดอากรสูงสุด 20% (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)

- รถยนต์กระบะ (CKD) ได้รับเงินอุดหนุน ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ลดภาษีสรรพสามิต 0% เงินอุดหนุน 150,000 บาท (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)

ช่วงที่ 2 ปี 2567 – 2568  จะใช้มาตรการสนับสนุนฯ จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก โดยยกเลิกการยกเว้น/ลดอากรนำเข้า รถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศทั้งคัน (CBU) แต่ยังคงมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิต และ/หรือให้ เงินอุดหนุนตามเงื่อนไขที่กำหนดต่อไป  เพื่อทำให้ต้นทุนรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปทั้งคันที่นำเข้าสูงกว่ารถยนต์/ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศ

- ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท อากรขาเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) 0% ลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% เงินอุดหนุน 70,000 บาท (10-30 กิโลวัตต์) เงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)

- ราคา 2-7 ล้านบาท อากรขาเข้าชิ้นส่วน BEV 0% (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)

- รถยนต์กระบะ (ต้องผลิตในประเทศเท่านั้น) ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท

- อากรขาเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) 0% ภาษีสรรพสามิต 0% เงินอุดหนุน 150,000 บาท (30 กิโลวัตต์ขึ้นไป)

โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่การผลิตรถอีวีให้ได้ 30% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยภายในปี 2573 

ซึ่งเราวิเคราะห์ว่า การกระตุ้นดังกล่าวจะสร้างกำลังซื้อได้ดี และนักลงทุนจะมีมุมมองเชิงบวกเพราะมีความเชื่อมั่นในหุ้นที่ทำธุรกิจรถ EV ว่าจะสามารถสร้างการเติบโต รวมถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่

1.กลุ่มผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (DELTA, EA, GPSC, BANPU, BPP และ BCPG)

2.ผู้ให้บริการสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (PTT, OR, BCP, CPALL, EA และ DELTA)

3.ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ (EPG)

4.ผู้ผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (KCE, HANA, DELTA)

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1711695077
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 6ba2653e4f223975c5c2321f27e74783
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-ev-stock-2022.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-ev-stock-2022
)
		
Array
(
)