บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

SCB ระยะยาวดีแน่ แต่ระยะสั้น Long หรือ Short ดีกว่ากัน?

SCB ระยะยาวดีแน่ แต่ระยะสั้น Long หรือ Short ดีกว่ากัน?

เผยแพร่เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564


ถือเป็นประเด็นใหญ่ประจำสัปดาห์ สำหรับการประกาศทิศทางการดำเนินงานของธนาคารที่มี Market Cap. ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทยอย่าง SCB หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ รวมไปถึงทำข้อตกลงกับบริษัทอื่น เพื่อสร้างบริการใหม่ และเสริมความแข็งแกร่งให้กับ SCB ในอนาคต โดยมีพัฒนาการที่สำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้

1. ลงนามทำข้อตกลงร่วมทุนกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ในการจัดตั้งบริษัท AISCB ประกอบธุรกิจให้บริการด้านสินเชื่อผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Lending) เพื่อสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกยิ่งขึ้น โดยทั้ง SCB และ AIS จะถือหุ้นใน AISCB คนละ 50% ของทุนจดทะเบียน

2. ลงนามทำข้อตกลงร่วมมือระหว่าง SCB 10X ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCB และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในการจัดตั้งกองทุน Venture Capital เพื่อลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน เช่น Blockchain และ Decentralized Finance ที่จะนำไปสู่การให้บริการที่ดีขึ้นในอนาคต

3. การประกาศจัดตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ SCBX เพื่อเป็น Holding Company และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานจากธนาคารเป็นในรูปของบริษัท โดยจะมีการทำ Share Swap ให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ SCB เปลี่ยนไปถือหุ้น SCBX และเพิกถอน (Delisted) หุ้น SCB ออกจากตลาด ซึ่ง SCB จะเปลี่ยนเป็นบริษัทย่อยของ SCBX แทน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น หากมีมติเห็นชอบ คาดว่าจะเข้าสู่กระบวนการถัดไปในช่วงกลางปี 65

จากจุดนี้ เราตีความว่า SCB มองเห็นว่าการดำเนินธุรกิจตัวกลางในการทำธุรกรรม และรับค่าธรรมเนียมแบบเดิม ไม่ได้ตอบโจทย์การเติบโตในระยะยาว เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเปลี่ยนแปลงไป ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน เช่น การที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้บริการทางการเงินในแบบออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน, การจ่ายบิลค่าบริการ หรือแม้กระทั่งการใช้บริการสินเชื่อ และการจัดการสินเชื่อในปัจจุบัน ก็ทำแบบออนไลน์ได้ จึงทำให้ SCB ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการครั้งสำคัญ

ในตลาดหุ้นก็มีกรณีศึกษามากมาย เกี่ยวกับบริษัทที่มีพัฒนาการสำคัญ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการปรับรูปแบบการดำเนินงาน, การเข้าซื้อหุ้นของบริษัทที่มีศักยภาพ, การเริ่มธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต หรือการร่วมมือกับบริษัทอื่น เป็นต้น

อย่างหลายสัปดาห์ก่อน เราเห็นกลุ่มของ BTS และกลุ่มของ JMART ที่เข้าเป็นพาร์ตเนอร์กัน ส่งผลให้ราคาหุ้นทั้ง 2 เครือ ปรับตัวบวกขึ้นทั้งคู่ (เช่น BTS, VGI, U, JMART, JMT, SINGER และ J) หรือถ้าย้อนไปไกล ก็จะมีกรณีของ CPALL เข้าถือหุ้น MAKRO แม้จะมีประเด็นเล็กๆ แต่ก็ทำให้ผลการดำเนินงานของ CPALL เติบโตได้ดี ส่งผลให้ราคาหุ้นจากเดิมเทรดกันบริเวณ 30-50 บาท ขึ้นไปเทรดที่ระดับ 60-80 บาท

ทั้งนี้ ภาพลักษณ์ของ SCB ที่เดิมเป็นธนาคารแรกของประเทศไทย กำลังจะเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินในชื่อของ SCBX ก็เป็นพัฒนาการที่สำคัญคล้ายกับกรณีอื่นที่เรากล่าวไปก่อนหน้า ทำให้เกิดแรงซื้อมหาศาลจากนักลงทุนที่เข้าเก็งกำไรในหุ้น SCB ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 22 ก.ย. 64 และพุ่งขึ้นอีกครั้งกว่า 20% ในวันต่อมา

เรามีมุมมองเป็นบวกต่อการดำเนินงานของ SCB ในระยะยาว จึงให้คำแนะนำเป็น “ซื้อสะสม” ด้วยการมีพัฒนาการที่สำคัญ 3 ประเด็น อีกทั้งยังมีประเด็นของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ที่อาจตามมาในอนาคต หากผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจลดลง ธปท. อาจปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับเดิมในที่สุด หรือแม้กระทั่งการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ก็จะส่งผลดีต่อการดำเนินงานของ SCB อีกด้วย ดังนั้น นักลงทุนท่านใดที่กำลังมองหาหุ้นพื้นฐานดี SCB ก็เป็นหนึ่งตัวเลือกสำหรับลงทุนระยะยาวได้เช่นกัน

ส่วนในระยะสั้น สำหรับผู้ที่ต้องการเก็งกำไรใน Single Stock Futures ของ SCB เราแนะนำเพียง Hold Long สำหรับคนที่ถือสถานะ Long อยู่แล้ว โดยมีจุด Stop Loss ที่ 120 บาท และไม่เข้าสถานะ Long เพิ่ม หรือไม่เปิดสถานะ Short สวนเทรนด์

หมายเหตุ: ราคาหุ้น ณ วันที่ 23 ก.ย. 64

 

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1711615839
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => a6ddfe9650880fac4a38eeacdd11c86e
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-scb-stock-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-scb-stock-2021
)
		
Array
(
)