บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

VNG หุ้นร้อนแรงแห่งปี เปิด Long ตอนนี้ทันหรือไม่?

VNG หุ้นร้อนแรงแห่งปี เปิด Long ตอนนี้ทันหรือไม่?

เผยแพร่เมื่อ วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564


เชื่อว่าก่อนหน้านี้ นักลงทุนหลายท่านอาจจะไม่คุ้นหน้าคุ้นตากับหุ้น VNG หรือ บมจ.วนชัย กรุ๊ป จนกระทั่งเข้าสู่ปีนี้ที่ราคาหุ้น VNG พุ่งจากระดับ 3.30 บาทเมื่อปลายปีที่แล้ว สู่ระดับเหนือ 9 บาท ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา คิดเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นมากกว่า 180% เมื่อเทียบกับต้นปี คำถามคือ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้น VNG ปรับตัวขึ้นได้มากขนาดนี้ และเรามีคำแนะนำอย่างไร?

ก่อนอื่น VNG ทำธุรกิจอะไร? ธุรกิจของ VNG และบริษัทย่อย คือ การผลิตและจำหน่ายแผ่นไม้ (Panel Board) เพื่อใช้ทดแทนไม้ธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท คือ แผ่นเอ็มดีเอฟ และแผ่นปาร์ติเกิ้ล มีการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีรายได้จากการขายแผ่นเอ็มดีเอฟ และแผ่นปาร์ติเกิ้ลในสัดส่วน 64% และ 16% ตามลำดับ นอกจากนั้นเป็นรายได้จากแผ่นไม้ประเภทอื่น และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง

ลูกค้าของ VNG ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ทำอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างประเภทไม้ โดยในครึ่งแรกของปี 64 VNG มีรายได้จากการขายจำนวน 5,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้จากการขายในครึ่งปีแรกจำนวน 3,962 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.78% YoY

ด้านกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 64 VNG รายงานไว้ที่ 472 ล้านบาท พลิกจากที่ขาดทุนในปี 63 จำนวน 218 ล้านบาท โดยรายได้จากการขายและกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขายแผ่นปาร์ติเกิ้ลราว 145% และราคาขายโดยเฉลี่ยของแผ่นเอ็มดีเอฟและแผ่นปาร์ติเกิ้ลเพิ่มขึ้นราว 25% จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากการระบาดของโควิด-19 เริ่มควบคุมได้ในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ของ VNG กลับมา

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานย้อนหลังของ VNG พบว่าบริษัทมีการขาดทุนสุทธิมาตั้งแต่ปี 61 ซึ่งเป็นผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบด้านต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่ปี 62 บริษัทก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งทำให้ความต้องการซื้อลดลง กระทบด้านรายได้จากการขาย ส่งผลให้การดำเนินงานมีผลขาดทุนสุทธิ 2 ปีติดต่อกัน

ทั้งนี้ การพลิกผลการดำเนินงานกลับมาเป็นฝั่งกำไรสุทธิได้ ก็ถือเป็นสัญญาณ Turnaround ของบริษัท จึงทำให้นักลงทุนเข้าเก็งกำไรในหุ้น VNG นับตั้งแต่ผลการดำเนินงาน Q1/64 ประกาศออกมามีกำไรสุทธิ 129 ล้านบาท ต่อเนื่องมาจนถึงผลการดำเนินงาน Q2/64 ที่มีการประกาศกำไรสุทธิ 343 ล้านบาท รวมกำไรสุทธิครึ่งปีแรกที่ 472 ล้านบาท ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวไปก่อนหน้านี้

ด้านราคาหุ้น มีการปรับตัวขึ้นไปตามแรงเก็งกำไร โดยเพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ 3.30 บาท สู่ระดับ 9.40 บาท (ในช่วงพักกลางวันของวันที่ 22 ก.ย. 64) โดยเพิ่มขึ้นมาแล้ว 184% YTD อีกทั้ง ราคาหุ้นยังคงรักษาแนวโน้มขาขึ้นได้เป็นอย่างดี จากการปรับฐานบริเวณ 7 บาทแล้วไม่ต่ำกว่าจุดดังกล่าว ก่อนจะเทคตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 9.75 บาท ทำ New High ในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 61
ด้านกลยุทธ์สำหรับหุ้น และ Single Stock Futures ของ VNG ที่ระดับราคา 9.40 บาท เราแนะนำให้รอการพักตัวบริเวณ 9 บาท เพื่อเปิดสถานะ Long โดยมีจุด Stop Loss ที่ 8.70 บาท และไม่แนะนำให้เปิดสถานะ Short เนื่องจากเป็นการสวนเทรนด์ขาขึ้น ยกเว้นในกรณีที่ราคาร่วงหลุด 8.50 บาท จึงจะส่งสัญญาณขาลงและทำให้ฝั่งขา Short เริ่มได้เปรียบ

หมายเหตุ: ราคาหุ้น ณ วันที่ 22 ก.ย. 64

 

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1713584938
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 6f167d5753ec2da494ef8f155ecc2448
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/analyze-vng-2-stock-2021.html
)
		
Array
(
    [content] => analyze-vng-2-stock-2021
)
		
Array
(
)