เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
ในช่วงครึ่งแรกของปี 68 (ม.ค.–พ.ค.) ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยได้รับแรงหนุนจากปัจจัยเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์หลายประการ ราคาทองคำโลก (Gold Spot) พุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2568 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ราคาทองคำสมาคมค้าทองคำก็ปรับตัวสูงขึ้นตาม โดยราคาทองคำแท่งขายออกแตะระดับบาทละ 54,450 บาท และราคาทองคำยังคงมีความสัมพันธ์ผกผันกับค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งในปี 2568 ค่าเงินดอลลาร์กำลังอ่อนค่าลงจากนโยบายการค้าของรัฐบาลทรัมป์และการคาดการณ์ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนหันมาถือทองคำมากขึ้น ดันราคาทองสูงขึ้น นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนของค่าเงินดอลลาร์จากนโยบายเศรษฐกิจที่ผันผวนยิ่งเพิ่มแรงสนับสนุนให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ที่มั่นคง ประกอบกับการเข้าซื้อทองคำของธนาคารกลาง โดยธนาคารกลางหลายประเทศเฉพาะในเอเชีย ได้เพิ่มการถือครองทองคำ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาเงินดอลลาร์
ส่วนปัจจัยที่เตรียมกระทบราคาทองครึ่งปี 2568 ที่มาจากดอลลาร์ มี 2 อย่าง
1.การเปลี่ยนของค่าเงินดอลลาร์ที่กำลังลดลงไปเรื่อย จากฝีมือทรัมป์ที่ผลักดันการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากนานาประเทศ และการผ่านร่าง “One Big Beautiful Bill” ด้วย ผลโหวตสุดท้ายเฉียดฉิวเพียง 1 คะแนนเสียง (215 ต่อ 214) โดยมีสมาชิกพรรครีพับลิกันบางรายโหวตคัดค้านร่วมกับเดโมแครต ทำให้สหรัฐฯ มีโอกาสการต่ออายุมาตรการลดภาษีจากปี 2560 ,การเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงภายในประเทศ ,การลดค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อจำกัดการขาดดุลงบประมาณ ,และการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายด้านสวัสดิการและภาษีที่ครอบคลุมแรงงานและครอบครัวรายได้ปานกลาง ต้องติดตามการพิจารณาในวุฒิสภา หากผ่านจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้แก่
แต่ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งหรืออ่อน ขึ้นอยู่กับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับนานาประเทศ โดยในเดือนเมษายน 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร สาระสำคัญของนโยบายภาษีศุลกากรใหม่ คือ ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 2568 สหรัฐฯ ได้กำหนดภาษีศุลกากรพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ยกเว้นแคนาดาและเม็กซิโก ทั้งนี้การกำหนดภาษีศุลกากรเพิ่มเติมสำหรับ 86 ประเทศ โดยอัตราภาษีอยู่ระหว่าง 11% ถึง 50% ขึ้นอยู่กับความไม่สมดุลทางการค้าและนโยบายที่สหรัฐฯ เห็นว่าไม่เป็นธรรม แต่ได้เลือกการเก็บภาษีไปก่อน 90 วัน ซึ่งในวันที่ 8 ก.ค. 2568 จะเป็นวันที่ครบกำหนด และสหรัฐฯ - จีนได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการลดภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจาทางการค้าเพิ่มเติม โดยสหรัฐฯ ลดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนจากอัตรา 145% เหลือ 30% มีผลตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2568 และจีนลดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ จากอัตรา 125% เหลือ 10% มีผลตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2568 เช่นกัน โดยจะสิ้นสุดประมาณวันที่ 12 ส.ค. 2568
สรุปแนวโน้มดอลลาร์ที่อ่อนค่าจากนโยบายเศรษฐกิจเชิงรุกของทรัมป์ และความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า เป็นตัวเร่งให้ทองคำกลายเป็นสินทรัพย์หลบภัย (Safe haven) มากขึ้นในช่วง Q2/68 – Q3/68
2.อัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงที่ 4.25–4.50% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่ยังไม่กลับสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจ เช่น อัตราการจ้างงานที่ชะลอลง, ยอดค้าปลีกหดตัว, และ ดัชนีภาคการผลิตอ่อนแรง ได้เริ่มจุดประกายความกังวลในตลาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะต่อไป โดยความสัมพันธ์ระหว่างดอกเบี้ยกับราคาทองคำ เพราะเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยหรือปันผล การถือครองทองคำในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูง จึงมีต้นทุนโอกาส (opportunity cost) ที่มากกว่าสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือเงินฝาก แต่ในทางกลับกัน เมื่อ Fed เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยหรือมีสัญญาณว่าจะเปลี่ยนนโยบายเป็นแบบ “ผ่อนคลาย” (dovish tone) นักลงทุนจะหันมามองหาสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการรักษามูลค่า ซึ่งทองคำมักเป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ
ซึ่งต้นทุนการถือครองทองคำต่ำลง นักลงทุนไม่เสียโอกาสในการรับดอกเบี้ยจากสินทรัพย์อื่น ผลตอบแทนสินทรัพย์ทางเลือกลดลงทำให้ทองคำกลับมาน่าสนใจเมื่อเทียบกับพันธบัตรหรือหุ้นที่อาจถูกกดดันจากต้นทุนทางการเงิน และอัตราดอกเบี้ยต่ำอาจกระตุ้นเงินเฟ้อนักลงทุนใช้ทองคำเป็นเครื่องมือ “ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ” (inflation hedge)
ปัจจัยนี้จาก FED มีโอกาสลดดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้น เนื่องจากสัญญาณการกดถอยจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีถึง 7 อย่างได้แก่
ประเด็นจาก FED ที่ประเมินว่า สหรัฐฯ กำลังเผชิญสัญญาณการชะลอตัวที่อาจพัฒนาเป็นภาวะถดถอยในระยะต่อไป หาก Fed หันกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ราคาทองคำจะได้รับแรงหนุนอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง
ทั้ง 2 ปัจจัยหลักสะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญสัญญาณถดถอย ขณะที่นโยบายของทรัมป์และ Fed อาจนำไปสู่ดอลลาร์อ่อน และกระตุ้นการลงทุนในทองคำ ซึ่งมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อหากสัญญาณเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว โดยมีแนวโน้มสูงที่ราคาทองคำในครึ่งปีหลัง 2568 จะปรับตัวขึ้นต่อโดยมีปัจจัยสนับสนุนที่ชัดเจนจากทั้ง ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า และ นโยบายการเงินของสหรัฐฯ ที่มีโอกาสผ่อนคลาย ซึ่งส่งผลบวกต่อราคาทองคำโลก
Array ( [Secure-PHPSESSID] => kr2bvgr5i98lvn7sisdu19bak2 [cooCAFXXSUAV] => cooCAFXXSUAV )
Array ( [sesCAFXXSLAT] => 1748481269 [CAFXSI18NX] => th [_csrf] => e70a74303248d4e7db93359afa79011d [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/switcher.html?action=language&language=th&origin=https%3A%2F%2Fwww.caf.co.th%2Farticle%2Fgold-price-2568.html )
Array ( [content] => gold-price-2568 )
Array ( )