บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

สัปดาห์นี้จับตา 5 ปัจจัยสำคัญ

สัปดาห์นี้จับตา 5 ปัจจัยสำคัญ

เผยแพร่เมื่อ วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563


1.ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ – จีน

หลังทรัมป์ลงนามกม.คว่ำบาตรจีนกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ ส่วนจีนเตรียมตอบโต้  ทำให้นักลงทุนต้องจับตาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน หากความสัมพันธ์เริ่มแย่ลง อาจทำให้นักลงทุนกังวลประเด็นดังกล่าวมีโอกาสเห็นราคาทองคำปรับขึ้น และตลาดหุ้นมีความเสี่ยงโดนเทขาย และในกรณีที่ความสัมพันธ์ไม่เลวร้ายนักลงทุนไม่ได้มองว่ามีความเสี่ยงราคาทองคำเป็น Sideway และตลาดหุ้นมีโอกาสเป็น Sideway Up

2.ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ

กังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะโดนผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งสร้างความเสี่ยงที่รุนแรงกับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก และอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯเผชิญกับการถดถอยระยะยาวซึ่งอาจส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานและภาคเศรษฐกิจตามมา

ทั้งนี้แนวโน้มการระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 ในสหรัฐฯมีความเสี่ยงจะเกิดขึ้น เนื่องจาก 3 รัฐในสหรัฐฯ คือ California , Florida ,Texas เกิดการระบาดของโควิด-19 ต่อวันมากกว่า 3 พันราย เหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงระบาดโควิด-19 รอบสอง คือ การประท้วงและการเปิดเมืองที่ยังมีการระบาดอยู่ และเฟดประเมินเศรษฐกิจหดตัว -6.5% โดยสมมติฐานการระบาดของโควิด-19 รอบเดียวเท่านั้น หากมีการระบาดรอบสองเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจหดตัวมากกว่า -6.5% มองเป็นปัจจัยบวกต่อทองคำและลบตลาดหุ้น

3.แนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยง

โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตรียมเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ในวันที่ 24 มิ.ย. ซึ่งจะมีการเปิดเผยรายละเอียดตัวเลขคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลก

ซึ่งก่อนหน้านี้ IMF คาดการณ์ในเดือนเม.ย.ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลง 5.9% ในปีนี้ และจะขยายตัว 4.7% ในปีหน้า ในขณะที่เศรษฐกิจจีนจะขยายตัว 1.2% ในปีนี้ และดีดตัวขึ้น 9.2% ในปีหน้า

ทั้งนี้เราคาดการณ์ว่า IMF มีแนวโน้มที่จะปรับลดคาดการณ์ เศรษฐกิจโลก เนื่องจากการคาดการณ์รอบแรกในเดือนเม.ย. เป็นช่วงการระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่มีการระบาดโควิด-19 รอบ 2 ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้น และบวกต่อราคาทองคำ หากผิดจากที่คาด IMF มองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น จะเป็นบวกต่อตลาดหุ้น และเป็นความเสี่ยงต่อราคาทองคำ

4.,ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งนโยบายการเงิน เป็น"มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2" แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้

4.1. ปรับลดเพดานดอกเบี้ยทั่วไป 2-4% ต่อปี

สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 63)

4.2. เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด

โดยลูกหนี้ต้องมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธ.ค.64 (มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 63)

4.3. มาตรการขั้นต่ำอื่นๆ ในระยะที่ 2

โดยเจ้าหนี้อย่าง Bank และ Non Bank ต้องมีมาตรการความช่วยเหลือขั้นต่ำให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อ เช่น การผ่อนชำระขั้นต่ำ การเปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นเป็นระยะยาว การลดค่างวด การเลื่อนชำระค่างวดหรือเงินต้น เป็นต้น 

และมาตรการช่วยเหลือนี้จะไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และลูกหนี้สามารถดูหมายเลข Call Center สถาบันการเงิน และ Non-Bank จากธนาคารแห่งประเทศไทยได้

4.4. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้

Bank และ Non Ban ต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระ เช่น โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะสั้นเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย และกรณีลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอการยึดทรัพย์

นอกจากนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ประสบปัญหาไม่สามารถติดต่อสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการที่เป็นเจ้าหนี้ของตัวเองได้ หรือติดต่อผู้ให้บริการแล้ว แต่ไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ สามารถใช้บริการ "ทางด่วนแก้หนี้" ที่ช่วยรับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

มองประเด็นดังกล่าวเป็นลบต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากกลุ่มการเงินมีโอกาสเสียประโยชน์สูง และหลังจากสิ้นสุดการพักหนี้มีความเสี่ยงที่จะเห็น หนี้เสีย(NPL) พุ่ง เลวร้ายที่สุดคือ การล้มละลายของธุรกิจจำนวนมาก

5.การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล-ซื้อหุ้นคืน

โดยนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้มาตรการดังกล่าวเนื่องจาก การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทย ยังไม่รู้ว่าจะจบเมื่อไหร่ และจะจบอย่างไร การรักษาภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่าการรักษาภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพของคนไทยแต่ละคน พร้อมมองว่า

5.1 ธนาคารพาณิชย์คือระดับเงินกองทุน ที่เป็นกันชนรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว และความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้เงินกองทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลายลง และเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูอย่างเต็มที่

5.2 มาตรการหลากหลายด้านเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ และผ่อนผันกฎเกณฑ์การกำกับดูแลหลายเรื่องเพื่อส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ด้วย ธนาคารพาณิชย์อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเยียวยาและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ซึ่งต้องคำนวณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลประกอบการและระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์อย่างละเอียดในสถานการณ์ต่างๆ (scenarios) ในอนาคตด้วย

มองประเด็นนี้ว่าเป็นลบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจ (-SET)

เปิดบัญชี TFEX
รับสิทธิพิเศษทันที !!
Array
(
)
		
Array
(
    [sesCAFXXSLAT] => 1713590345
    [CAFXSI18NX] => th
    [_csrf] => 30d584a6748d3127f06b83dfeb36d4ac
    [CAFXSFEREF] => https://www.caf.co.th/article/5-important-trends.html
)
		
Array
(
    [content] => 5-important-trends
)
		
Array
(
)